วันอาทิตย์ที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

สังคมไทย

สังคมไทย 
สังคมไทยมีลักษณะเป็นเอกสังคม ประกอบด้วยคนเชื้อชาติและสัญชาติไทยอยู่รวมกันเป็นส่วนใหญ่ ในปีพ.ศ. 2536 ประเทศไทยมีประชากรประมาณ 58 ล้านคนและปี พ.ศ. 2539 มีจำนวนประชากรประมาณ 60 ล้านคน ประเทศไทยจึงประสบปัญหาการเพิ่มจำนวนของประชากร

ลักษณะของสังคมไทย 
1. เป็นสังคมเกษตรกรรม ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม
2. เป็นสังคมที่มีการแบ่งชนชั้น โดยยึดจากฐานะทางเศรษฐกิจและสังคม
3. เป็นสังคมที่ยึดมั่นในขนบธรรมเนียมประเพณีเป็นหลัก
4. มีโครงสร้างแบบหลวม ๆ ไม่เคร่งครัดในกฎเกณฑ์และระเบียบ ขาดระเบียบวินัย
5. พุทธศาสนามีอิทธิพลต่อความเชื่อและการดำเนินชีวิต
6. เป็นสังคมที่อยู่ระหว่างการเปลี่ยนแปลง

โครงสร้างสังคมเมืองและสังคมชนบท 
ลักษณะสังคมชนบท 
1. ประชากรมีจำนวนมากอยู่อย่างกระจัดกระจาย
2. การศึกษาต่ำ ฐานะยากจน
3. มีรายได้น้อย และประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นหลัก
4. การปกครองส่วนภูมิภาค มีส่วนร่วมทางการเมืองน้อย
5. เป็นสังคมชาวพุทธ พุทธศาสนิกชนมีความเชื่อและนับถือในโชคลาง
6. มีความสัมพันธ์แบบใกล้ชิดส่วนตัว และเป็นกันเอง

ลักษณะสังคมเมือง 
1. ประชากรมีจำนวนมากและอยู่อย่างหนาแน่น
2. เป็นศูนย์กลางทางการศึกษาที่สำคัญ
3. เป็นศูนย์รวมความเจริญทางเศรษฐกิจ สังคม การปกครอง
4. ความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกในสังคมเมืองมีลักษณะเป็นทุติยภูมิ
5. มีรายได้รายจ่ายสูง เศรษฐกิจดีและประกอบอาชีพหลากหลายชนิด

สาเหตุการเปลี่ยนแปลงสังคมชนบท 
1. สาเหตุภายใน ได้แก่ การเกิด การตาย การย้ายถิ่น
2. สาเหตุภายนอก ได้แก่ การศึกษา การคมนาคม การสื่อสาร เป็นต้น

ค่านิยมของสังคมไทย 
ค่านิยมทางสังคม หมายถึง รูปแบบความคิดที่คนส่วนใหญ่ยึดถือและปฏิบัติร่วมกันเพราะเป็นสิ่งมีคุณค่า ถูกต้องเหมาะสมและดีงามควรปฏิบัติ

ที่มาของค่านิยมของสังคมไทย 
1. รับจากศาสนาพุทธผสมผสานกับศาสนาพราหมณ์
2. รับจากสังคมดั้งเดิม คือ ระบบศักดินา เช่น การนับถือเจ้านาย ยศถาบรรดาศักดิ์
3. รับจากระบบสังคมเกษตรกรรม เช่น ความเฉื่อย ขาดความกระตือรือร้น
4. รับจากความเชื่อในอำนาจศักดิ์สิทธิ์ โชคลาง

ค่านิยมของสังคมชนบท 
1. นับถือเรื่องกรรมเก่า บุญวาสนา
2. เชื่อถือโชคลาง
3. ยกย่องและนับถือผู้มีคุณงามความดี
4. ขี้เกรงใจคน ไม่โต้แย้ง เห็นแก่หน้า
5. ชอบสันโดษ
6. นิยมเครื่องประดับประเภทเพชรนิลจินดา ทอง
7. ชอบเสี่ยงโชค
8. นิยมทำบุญตักบาตรและพิธีการต่าง ๆ เกินกำลัง
9. นิยมช่วยเหลือ พึ่งพาอาศัยก่อนและช่วยเหลือกัน
10. หวังผลเฉพาะหน้า เช่น สนใจเฉพาะผลผลิตปีนี้โดยไม่นึกถึงในอนาคตข้างหน้า

ค่านิยมของสังคมเมือง 
1. ไม่เชื่อเรื่องที่พิสูจน์ไม่ได้ มีเหตุผลในการตัดสินใจ
2. มีการแข่งขันกันสูง
3. ชอบใช้จ่ายฟุ่มเฟือย หรูหรา
4. เห็นแก่ตัวไม่ช่วยเหลือกัน
5. นิยมของใช้ตะวันตก เช่น การแต่งกาย
6. มีการกำหนดเวลาที่ชัดเจนและแน่นอน

ค่านิยมของสังคมไทยที่ควรเปลี่ยนแปลง 
1. ค่านิยมความเฉื่อย เพราะขาดความกระตือรือร้น
2. ไม่ตรงต่อเวลาในการนัดหมาย
3. ขาดระเบียบวินัยในการดำเนินชีวิต
4. ชอบเสี่ยงโชคลาภ เช่น การพนัน ลอตเตอรี่
5. ไม่กล้าเสี่ยงในการประกอบอาชีพ
6. ชอบความสะดวกสบาย แต่งกายภูมิฐาน มีรถยนต์ราคาแพงขับ เพื่อให้คนอื่นยอมรับความสำคัญของตนเอง

การเปลี่ยนแปลงและแนวโน้มสังคมไทย 
การเปลี่ยนแปลง หมายถึง การที่สิ่งใดสิ่งหนึ่งหรือเหตุการณ์ใดเหตุการณ์หนึ่งมีสภาพแตกต่างไปจากเดิม

การเปลี่ยนแปลงในสังคมไทย แบ่งเป็น 2 แบบ คือ
  1. การเปลี่ยนแปลงทางสังคม หมายถึง การเปลี่ยนแปลงรูปแบบและระบบความสัมพันธ์ของสมาชิกในสังคม เช่น การเมือง การปกครอง การศึกษา สถานภาพ บทบาท จำนวนประชากร เป็นต้น
  2. การเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรม หมายถึง การเปลี่ยนแปลงด้านวัฒนธรรมของสังคมที่เป็นวัตถุและไม่ใช่วัตถุ ทั้งที่เป็นประโยชน์หรือโทษ
สาเหตุของการเปลี่ยนแปลงในสังคมไทย 
1. สภาพแวดล้อมทางกายภาพ
2. การเพิ่มของประชากร
3. การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ
4. การติดต่อกับสังคมภายนอก
5. นโยบายของผู้นำในสังคม
6. ความรู้และเทคโนโลยีวิทยาการของสังคม

การสื่อสาร

การสื่อสาร หมายถึง

ธรรมชาติของมนุษย์ต้องการอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม ต้องการความรักความเข้าใจจากสมาชิกในกลุ่ม การสื่อสารจึงเป็นสิ่งที่จะช่วยให้มนุษย์ได้รับสิ่งเหล่านั้น และการสื่อสารยังช่วยให้มนุษย์เกิดความพึงพอใจ ช่วยให้ได้รับความไว้วางใจและความรู้สึกที่ดีต่อกันได้
การสื่อสาร หมายถึง
การสื่อสาร ตรงกับภาษาอังกฤษว่า Communication หมายถึง กระบวนการส่งข่าวสารข้อมูลจากผู้ส่งข่าวสารไปยังผู้รับข่าวสาร มีวัตถุประสงค์เพื่อชักจูงให้ผู้รับข่าวสารมีปฏิกิริยาตอบสนองกลับมา โดยคาดหวังให้เป็นไปตามที่ผู้ส่งต้องการ
ความสำคัญของการสื่อสาร
  1. การสื่อสารมีบทบาทสำคัญต่อชีวิตประจาวัน ในวันหนึ่งเราใช้การสื่อสาร ตลอดเวลา ทั้งการสื่อสารกับตนเอง การสื่อสารกับผู้อื่น ตั้งแต่บุคคลในครอบครัว กลุ่มเพื่อน ผู้ร่วมงาน และทุกกิจกรรมในการดำรงชีวิต ก็ต้องใช้การสื่อสารทั้งนั้น
  2. ความสำคัญต่อความเป็นสังคม มนุษย์รวมตัวกันเป็นกลุ่มสังคมได้ตั้งแต่สังคมเล็กระดับครอบครัว จนถึงสังคม ที่ใหญ่ระดับประเทศและระดับโลกได้ ก็เพราะอาศัยการสื่อสารเป็นพื้นฐาน
  3. ความสำคัญต่ออุตสาหกรรมและธุรกิจตั้งแต่ขั้นตอนการตลาด การขาย การจัดหา วัตถุดิบ การวางแผนการผลิต การผลิต การเงิน การบัญชี และการบริหารงานบุคคล ต้องใช้ การสื่อสารทุกขั้นตอน
  4. ความสำคัญต่อการปกครอง เนื่องจากผู้ปกครองและผู้ถูกปกครอง จะต้องมีการตกลงร่วมกันในกฎเกณฑ์หรือระเบียบต่าง ๆ ผู้ปกครองต้อง เผยแพร่ข่าวสารเหล่านี้ให้ผู้ถูกปกครองทราบทั้งทางตรงและทางอ้อม
  5. ความสำคัญต่อการเมืองและเศรษฐกิจทุกประเทศมีการติดต่อสื่อสารกันทั้งทางด้านการเมือง และเศรษฐกิจเพื่อการสร้างเครือข่ายหรือพันธมิตร
มนุษย์ใช้การสื่อสารอยู่ตลอดเวลา การรู้ความหมายและรู้ความสำคัญของการสื่อสาร ตลอดจนทราบองค์ประกอบของการสื่อสาร ทำให้สามารถปรับปรุงหรือพัฒนาการรูปแบบการสื่อสารให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

การทำซีส

ชีสอุดมไปด้วยโปรตีน แคลเซียม วิตามินบี 2 วิตามินบี 12 หากร่างกายได้แคลเซียมตั้งแต่วัยเด็กหรือวัยรุ่น ช่วยป้องกันโรคกระดูกพรุนในวัยชราได้

ชีสเป็นนมที่ทิ้งไว้จนเกิด กรดแลคติคทำให้มีรสเปรี้ยว มีสารเฟนิลเอทิลอะมีนมากกว่าช็อคโกแลต สารนี้ช่วยทำให้เกิดความสุข ร่างกายกระฉับกระเฉง

มีโปรตีนและสาร อาหารต่าง ๆ มีแคลเซียมช่วยให้ผู้หญิงเข้าสู่วัยทองปลอดจากภาวะกระดูกพรุน เนื่องจากกระดูกบางลง การเดินการทรงตัวจะดี เคลื่อนไหวได้ปราดเปรียว การทานไม่ได้ทำให้ได้ไขมันมากอย่างที่กังวล เพราะได้มาจากส่วนโปรตีนของนมมากกว่าไขมัน
วิตามินในชีสมีสารต้านอนุมูลอิสระช่วยในการชะลอความชรา ป้องกันร่างกายจากเชื้อแบคทีเรีย วิตามินช่วยเสริมสร้างฮอร์โมนเพศในชายและหญิง


นมรสจืด 450 มล. 2 ขวด
(อันที่จริงสูตรใช้ 1000 มล. แต่แถวบ้านไม่มีขายเลยเอาปริมาณใกล้เคียง
อ่านเจอว่ายี่ห้อดัชมิลล์ลงตัวสุด เท่าที่ลองทำโฟโมสต์ก็ใช้แทนได้ นมรสอื่นชีสจะเหลว )

โยเกริร์ตรสธรรมชาติ 1 ถ้วย
(หรือไม่ก็ใช้เครื่องปรุงที่มีรสเปรี้ยว เช่น มะนาว ส้ม น้ำส้มสายชู นมโยเกิร์ตจากบัวหิมะ)

ประเพณีไทย

ประเพณีลอยกระทง ซึ่งตรงกับวันเพ็ญ เดือน 12 เริ่มขึ้นครั้งแรก ในสมัยกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี โดยมีนางนพมาศ หรือท้าวศรีจุฬารัตน์ พระสนมเอกแห่งพระร่วงเจ้า เป็นผู้ให้กำเนิด ในปัจจุบัน การลอยกระทงได้แพร่หลาย และเป็นที่นิยมไปอย่างกว้างขวาง โดยผู้ใหญ่มักจะเกณฑ์เด็กๆ มาช่วยกันทำกระทงนำไปลอยในแม่น้ำ เพื่อขอขมาแก่พระแม่คงคา พร้อมทั้งอธิษฐานขอสิ่งดีๆ ให้แก่ตนเอง และคนรัก และครอบครัว
วันลอยกระทงตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 ประเพณีลอยกระทงมีมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย
ประเพณีลอยกระทงได้เข้าสู่ประเทศไทยในสมัยกรุงสุโขทัยเป็นราชธานีประมาณ พ.ศ. 1800 ดังปรากฏในหนังสือนางนพมาศ ผู้เป็นพระสนมเอกของพระร่วงเจ้าว่า "ครั้นวันเพ็ญเดือน 12 ข้าน้อยได้กระทำโคมลอย คิดตกแต่งให้งามประหลาดกว่าโคมสนมกำนัลทั้งปวงจึงเลือกผกาเกษรสีต่างๆ มาประดับเป็นรูปกระมุทกลีบบานรับแสงจันทร์ใหญ่ประมาณเท่ากงระแทะ ล้วนแต่พรรณดอกไม้ซ้อนสีสลับให้ป็นลวดลาย..." เมื่อสมเด็จพระร่วงเจ้าได้เสด็จฯทางชลมารค ทอดพระเนตรกระทงของนางนพมาศก็ทรงพอพระราชหฤทัย จึงมีพระราชโองการฯให้จัดพิธีลอยกระทงเป็นประจำทุกปี ในคืนวันเพ็ญเดือนสิบสองพระราชพิธีนี้จึงได้ถือปฏิบัติเป็นประจำจนกระทั่งบัดนี้
ประวัติความเป็นมา
ประเพณีลอยกระทงมีมานานจนสืบประวัติไม่ได้ และไม่มีในคัมภีร์ทางศาสนาเสฐียรโกเศศ (พระยาอนุมานราชธน) ได้ค้นคว้าที่มาของประเพณีลอยกระทงไทยทุกภาคตลอดจนถึงประเทศใกล้เคียงคือ พม่า กัมพูชา จีน อินเดีย ได้ความว่ามีประเพณีลอยกระทงทุกประเทศด้วยเหตุผลต่างๆ กัน
สรุปเหตุผลของการลอยกระทงในประเทศไทยดังนี้
1. เพื่อขอขมาแม่คงคา เพราะได้อาศัยนำท่านกินและใช้ และอีกประการหนึ่งมนุษย์มักจะทิ้งและถ่ายสิ่งปฏิกูลลงไปในน้ำด้วย
2. เพื่อสักการะรอยพระพุทธบาทนัมมทานที ซึ่งประพุทธเจ้าทรงประทับรอยพระบาทประดิาฐานไว้บนหาดทรายที่แม่น้ำนัมมทานที ในประเทศอินเดีย3. เพื่อลอยทุกข์โศกโรคภัย และสิ่งไม่ดี คล้ายกับพิธีลอยบาปของพราหมณ์
4. เพื่อบูชาพระอุปคุต ชาวไทยภาคเหนือให้ความเคารพแก่พระอุปคุตอย่างสูง ซึ่งตามตำนานเล่าว่าเป็นพระมหาเถระรูปหนึ่งที่มีอิทธิฤทธิ์มากสามารถปราบพญามารได้
การลอยกระทงไม่มีพิธีรีตอง เพียงแต่ขอให้มีกระทงจะทำด้วยอะไรก็ได้ เช่น ใบตอง การกล้วย กาบพลับพลึง เปลือกมะพร้าว กระดาษ โฟม และ ปัจจุบันยังใช้ขนมปังทำด้วยเพื่อจะได้เป็นอาหารให้ปลาและไม่ทำลายแม่น้ำด้วย โดยจุดธูปเทียนปักที่กระทงแล้วอธิษฐานตามที่ตนปรารถนา เสร็จแล้วจึงลอยไปที่แม่นำลำคลอง (ภาพถ่ายจาก หาดป่าตอง จังหวัดภูเก็ต)